29032567

ปรับปรุงล่าสุด12:00:00 AM

อายุรกรรมชาย : การพัฒนาการเตรียมความพร้อมและการจัดการภาวะวิกฤต: กรณีศึกษาการระบาดของโรค Covid-19 กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ประเภทผลงานวิจัย งานสนับสนุนบริหาร

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการเตรียมความพร้อมและการจัดการภาวะวิกฤต: กรณีศึกษาการระบาดของโรค Covid-1
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นักวิจัย
นางดวงฤทัย สุขวงศ์ (พยาบาลวิชาชีพ (พว.))
นางเบญญาภา กสิกุล (พยาบาลวิชาชีพ (พว.))
นางปราณี งามชื่น (พยาบาลวิชาชีพ (พว.))
นางเกศศิริ พานิชชอบ (พยาบาลวิชาชีพ (พว.))
นางสมคิด ตรีราภี (พยาบาลวิชาชีพ (พว.))
นางพรพิมล พลอยประเสริฐ (พยาบาลวิชาชีพ (พว.))
และคณะ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ที่มา รพ.พระนครศรีอยุธยาเป็นรพ.ตติยภูมิรองรับการดูแลผู้ป่วยโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ การระบาดที่ผ่านมารพ.รับผู้ป่วยCovid-19 3ราย วิกฤตดังกล่าวต้องอาศัยการจัดการที่มีประสิทธิภาพจึงจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีไม่เกิดการแพร่กระจายเชื้อในรพ.ผู้ให้และผู้รับบริการปลอดภัย ในอดีตการจัดการภาวะวิกฤตเป็นแบบตั้งรับ ณ ขณะเกิดเหตุแบบลองผิดลองถูก ผู้ปฏิบัติสะท้อนว่านโยบายและการสื่อสารไม่ชัดเจน ประกอบกับแนวคิดการจัดการภาวะวิกฤตข้อมูลความรู้ยังมีอยู่ไม่มากนัก ซึ่งหากมีการสังเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์จริงจะช่วยให้องค์กรมีแนวทางจัดการกับภาวะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษานี้ทำความเข้าใจการจัดการภาวะวิกฤตจากบทเรียนในอดีตแล้วนำไปพัฒนาการเตรียมความพร้อมและการจัดการภาวะวิกฤต ผลผลิตที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการวางแผนรับมือกับภาวะวิกฤตอื่นๆได้อีกต่อไป  วัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการจัดการภาวะวิกฤต 2.เพื่อพัฒนาการเตรียมความพร้อมและการจัดการภาวะวิกฤต 3.เพื่อศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาการเตรียมความพร้อมและการจัดการภาวะวิกฤต จากสถานการณ์Covid-19ระบาด

ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น3ระยะ 1)ระยะศึกษาปัจจัยและกระบวนการจัดการภาวะวิกฤตโดยการแปลความหมายจากสถานการณ์ภาวะวิกฤตระบาดของโรคไข้หวัดสเปนและโรคCovid-19ของไทยและต่างประเทศ 2)ระยะพัฒนาการเตรียมความพร้อมและการจัดการภาวะวิกฤตโดยใช้ผลการวิจัยระยะที่1 3)ระยะการประเมินผลการเตรียมความพร้อมและการจัดการภาวะวิกฤตในสถานการณ์ระบาดของโรคCovid-19 ที่ผ่านมาของกลุ่มการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพจำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่1)คำถามปลายเปิด2)แบบประเมินความสามารถในการจัดการภาวะวิกฤต3)การปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในสถานการณ์การระบาดของโรคCovid-19ที่ทีมวิจัยสร้างขึ้นมีสัมประสิทธิ์ความเที่ยง0.811และ0.796ตามลำดับ ดำเนินการ 15 ม.ค.- 15พ.ค.63 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติt-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย Content analysis  

ผลการศึกษาปัจจัยสำเร็จของการจัดการภาวะวิกฤตประกอบด้วย1.นโยบายชัดเจนทันกาล2.การสื่อสารทั่วถึงโปร่งใส3.ผู้นำเข้าถึงหน้างานคาดการณ์แม่นยำชี้นำชัดเจน4.Staffมีทัศนคติที่ดีปรับตัวไวมีทักษะที่จำเป็นกับหน้างานนั้น5.ทีมเครือข่าย6.สถานที่7.อุปกรณ์ยาเวชภัณฑ์มีความพร้อม ส่วนกระบวนการจัดการภาวะวิกฤตประกอบด้วยขั้นตอน1.Engagement2.Explore 3.Explain 4.Execute5.Evaluateผลลัพธ์ที่ได้นำสู่การพัฒนาความพร้อมและการจัดการภาวะวิกฤต เมื่อนำไปใช้กับสถานการณ์ระบาดCovid-19ที่ผ่านมาของกลุ่มการพยาบาลพบว่าการจัดการภาวะวิกฤตที่หน้างานอยู่ในระดับดี มีโอกาสพัฒนาในด้านความชัดเจนของนโยบาย/การสื่อสาร/การจัดการเวชภัณฑ์ ภายหลังวิกฤตไม่เกิดการแพร่กระจายเชื้อcovid-19ในรพ.บุคลากรมีสมรรถนะที่จำเป็นเพิ่มขึ้น เกิดทัศนคติการเป็นอยู่อย่างพอเพียงเท่าที่จำเป็นทำให้สังคมวิวัฒน์ เมื่อผ่านวิกฤตได้ บุคลากรจะภูมิใจในตนเองรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเพิ่มขึ้น 

 การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์1.เนื่องจากการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคCovid-19เป็นวิกฤตที่ต้องการวิธีการและการตัดสินใจ ณ ขณะเผชิญกับภาวะวิกฤตนั้น ผลการวิจัยระยะที่1สามารถนำไปใช้วางแนวทางจัดการเตรียมการก่อนที่ภาวะวิกฤตการระบาดของโรคCovid-19 จะเกิดขึ้นใน รพ.ได้ 2.การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาการจัดการภาวะวิกฤตที่ดี ทำให้ไม่เกิดการติดเชื้อCovid-19ในรพ. 3.ทฤษฎีการจัดการภาวะวิกฤตสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์วิกฤตอื่นๆได้

  บทเรียนที่ได้รับ1.การเตรียมการรับมือภาวะวิกฤตแม้เป็นสิ่งใหม่แต่สามารถเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต เช่นวิกฤตการระบาดของไข้หวัดสเปน และการระบาดของโรคCovid-19จากประเทศอื่นๆ การจัดการแม้จะไม่สามารถเตรียมการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่ก็สามารถผ่านวิกฤตไปได้ด้วยดี 2.สิ่งสำคัญในภาวะวิกฤตคือวิธีการและการตัดสินใจ ปัจจัยและกระบวนการใดๆต้องมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน และมีผู้นำที่มีความเสียสละ มีความเห็นใจกัน 3.เมื่อผ่านวิกฤตจะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น

  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ1.ธรรมชาติของภาวะวิกฤต 2.ธรรมชาติของบุคลากรสาธารณสุขที่มีบุคลิกลักษณะเป็นผู้มีจิตสาธารณะและรักการเรียนรู้รอบด้านทั้งศาสตร์และศิลป์เป็นส่วนใหญ่ทำให้ปรับตัวได้ไว และพยายามหาวิธีที่จะฝ่าฟันวิกฤตให้ผ่านพ้นไปได้ ลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดความร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้อย่างไม่มีเงื่อนไข 3.กระบวนการศึกษาวิจัยและพัฒนา 

 การสนับสนุนที่ได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจ
ให้คำปรึกษา พอใจ
จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน พอใจ  

*   ข้อมูลงานวิจัยคำถามวิจัยมาจากปัญหาหน้างานใช่  วัดผลที่ผู้รับบริการใช่  ทีมผู้ทำวิจัยเป็นคนหน้างานใช่ 

*    แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยไม่ได้รับ  กลุ่มเป้าหมาย   มุสลิม
   ประชาชนในพื้นที่  ปรเะเด็น   สิ่งแวดล้อม
   การป้องกันโรค เช่นการให้วัคซีน
   ภัยพิบัติ
   สุขภาวะชุมชน
   ระบบสุขภาพ

* คำสำคัญ (key word)การจัดการภาวะวิกฤต, crisis management, การระบาดของโรค Covid-19, การสื่อสารในภาวะวิกฤต, ภาวะผู้นำในภาวะวิกฤต, การเตรียมความพร้อม  งานวิจัยเป็นนวัตกรรมหรือไม่ไม่เป็น  ที่ปรึกษา/คุณอำนวยนางพรพิมล พลอยประเสริฐ (พยาบาลวิชาชีพ (พว.)) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เคย ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพทีมสนับสนุนงานวิจัย (R2R Thailand)  ระดับของการนำผลงานวิจัยไปใช้ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กรแล้ว  งานวิจัยนี้ได้มีการนำมาใช้ (ปี)5 เดือน  งานวิจัยเคยได้รับการตีพิมพ์ไม่เคย  งานวิจัยนี้เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยกรุณาระบุงาน และสถานที่ที่นำเสนอ ไม่เคย  งานวิจัยนี้เคยได้รับรางวัลใดๆ มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยกรุณาระบุชื่อรางวัล และหน่วยงานที่ให้รางวัลด้วย ไม่เคย  http://www.r2rthailand.org/abstract/box21.gif ข้อมูลบุคคล รหัสประจำตัว668ชื่อนักวิจัยหลักนางดวงฤทัย สุขวงศ์ เพศ หญิงตำแหน่งทางวิชาการพยาบาลวิชาชีพ (พว.)ตำแหน่งทางบริหารหัวหน้าฝ่าย/หน่วยวุฒิการศึกษาปริญญาโท บริหารจัดการทั่วไป           ปริญาตรี พยาบาลศาสตร์บัณฑิตหมายเลขโทรศัพท์0860023907อีเมล์This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.กลุ่มงานกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรมชื่อหน่วยงานโรพยาบาลพระนครศรีอยุธยาประเภทหน่วยงานโรงพยาบาลศูนย์ที่อยู่ของหน่วยงาน46/1 ม.4 ต.ประตูชัย ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาการส่งผลงานนักวิจัยส่งเอง