20042567

ปรับปรุงล่าสุด02:41:00 PM

สุภาฯ : Save ourselves - Save N95

1.หอผู้ป่วยสุภา ฯ

2.ผลงานเรื่อง Save ourselves - Save N95

3.คำสำคัญ ความปลอดภัยจากการติดเชื้อจากการดูแลผู้ป่วย

4.เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา  การจัดวอร์ดรวมผู้ป่วยวัณโรคปอด , การ Reuse N95         

5.สรุปเรื่องเล่าโดยย่อ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ ไวรัสโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามในหลายประเทศและดินแดนทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อและได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก

          โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) เป็นโรคอุบัติใหม่และเป็นโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว โดยเชื้อนี้จะแพร่กระจายทางฝอยละออง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เจ็บคอ หอบเหนื่อย ปอดอักเสบ ในรายที่รุนแรงจะมีภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้  ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหรือบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ต้องรักษาคนไข้นั้น มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้ออยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย ชุดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE : Personal Protective ซึ่งก็คือ อุปกรณ์ป้องกันและคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักขององค์กรอนามัยโลก

         จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ความต้องการใช้  N95 จำนวนมากขึ้น แต่โรงพยาบาลไม่สามารถจัดหาซื้อมาเพิ่มได้  จากเดิมที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่อยู่ตามวอร์ดต่างๆในสายงานอายุรกรรมจำนวน 8 วอร์ด   จึงมีการรวมผู้ป่วยวัณโรคปอดที่อยู่ตามวอร์ดต่างๆในสายอายุรกรรมจำนวน 8 วอร์ด ไว้ที่หอผู้ป่วยสุภาฯและICU 1 เท่านั้น ทำให้การเบิก N95 ในสายอายุรกรรมเหลือเพียง 2 วอร์ด และมีการ reuse N95 โดยการแขวนให้โดนแสงแดดและใช้เครื่องอบยูวี อบN95 หลังใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรคและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ 4 ครั้ง

6.ชื่อที่อยู่ขององค์กร หอผู้ป่วยสุภาฯ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

7.สมาชิกทีม เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยสุภาฯจำนวน 21 คน         

8.เป้าหมาย ลดจำนวนการใช้ N95 ในผู้ป่วยวัณโรคปอดและมีN95ใช้ในการดูแลผู้ป่วย COVID-19

9.ที่มาของปัญหา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ ไวรัสโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก โรคโควิด-19เป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้  ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหรือบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ต้องรักษาคนไข้นั้น มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้ออยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย ชุดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE : Personal Protective ซึ่งก็คือ อุปกรณ์ป้องกันและคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักขององค์กรอนามัยโลก ทำให้ความต้องการใช้  N95 จำนวนมากขึ้น แต่โรงพยาบาลไม่สามารถจัดหาซื้อมาเพิ่มได้

10.กิจกรรมการแก้ปัญหา

1.ประชุม Pct อายุรกรรม เพื่อวางแผนการใช้ N95 ให้ประหยัดน้อยที่สุด

2.ปรับปรุงแนวทางการรับผู้ป่วยวัณโรคปอด  จากเดิมจะ admit ตามวอร์ดต่างๆในสายงานอายุรกรรมจำนวน 8 วอร์ด  ( อช1, สุภาฯ ,อญ1, อญ2, ICU, RCU , พิเศษ2 , พิเศษ 3 ) มีการเปลี่ยนแปลงให้รับเฉพาะที่ ICU1 หรือที่หอผู้ป่วยสุภา ฯ เท่านั้น โดยหอผู้ป่วยสุภาฯจะเพิ่มการรับผู้ป่วยวัณโรคปอดทั้งในรายที่พบเชื้อและในรายที่สงสัย  และในรายที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ  ทั้งเพศชายและหญิง ทำให้ไม่มีผู้ป่วยวัณโรคปอดไปอยู่ตามวอร์ดต่างๆ การเบิก N95 ในสายอายุรกรรมจึงเหลือเพียง 2 วอร์ด

3.คำนวณการใช้ N95 ที่ต้องใช้ที่หอผู้ป่วยสุภาฯ และที่ ICU 1 อย่างปลอดภัยและประหยัด ( พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจได้รับโค้วต้า 2 ชิ้น/สัปดาห์  ดูแลผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจได้รับ1 ชิ้นต่อการขึ้นเวรในวันนั้น )

4.ปรับปรุงวิธีการเบิก N95 ตามจำนวนโค้วต้าที่ได้รับ โดยให้ ICU 1 รับผิดชอบการเบิกจ่ายN95 ของสายอายุรกรรม ในกรณีมีผู้ใช้ N95 เพิ่มเติมจากโค้วตาที่ได้รับ ให้แนบรายชื่อผู้ป่วยที่ใช้ด้วย

3.มีการ reuse N95 โดยการแขวนให้โดนแสงแดดและใช้เครื่องอบยูวี อบ N95 หลังใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรคและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ 4 ครั้ง

11.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

1. อัตราการใช้ N95 ในสายงานอายุรกรรมลดลง

รายการ

มค.63

กพ.63

มีค.63

เมย.63

อัตราการใช้ N95 (ชิ้น)

1,280

260

420

280

2. อุบัติการณ์เจ้าหน้าที่ติดเชื้อวัณโรคปอดจาการปฏิบัติงานตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2563 – มิถุนายน 2563 = 0

12.บทเรียนที่ได้รับ การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เพียงพอ

13.การติดต่อกับทีมงาน  สุนิสา สุดสวาทดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  หอผู้ป่วยสุภาฯ โทร. 3120