29032567

ปรับปรุงล่าสุด12:00:00 AM

ศัลยกรรมชาย : การใช้ Telehealth ดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 (Wound Care Challenges and Solutions by Telehealth During the COVID-19 Pandemic)

1. ชื่อหน่วยงาน:หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย

2. ชื่อผลงาน: การใช้ Telehealth ดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 (Wound Care Challenges and Solutions by Telehealth During the COVID-19 Pandemic)

3. คำสำคัญ: Telehealth, ผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรัง, COVID-19

4. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา: R2R

5. สรุปผลงานโดยย่อ: โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เป็นโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน เพราะฉะนั้นทีมสหสาขาวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนในโรงพยาบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด เพื่อตอบสนองนโยบายการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ลดการเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น แต่คงมาตรฐานการดูแลบาดแผลเรื้อรังตามมาตรฐานวิชาชีพ การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายและพึงพอใจจากบริการที่ได้รับ จึงมีสนใจที่จะศึกษาการใช้ Telehealth ดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19

6. ชื่อที่อยู่องค์กร:  หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

7. สมาชิกทีม:  พิราลักษณ์ ลาภหลายพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

มารศรี  ปิ่นสุวรรณ์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

8. เป้าหมาย: เพื่อศึกษาผลของการใช้ Telehealth ดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ต่อการฟื้นหายของแผลในระยะ 1 เดือน

9. ที่มาของปัญหา: โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เป็นโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน เพื่อความสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข จึงมีการกำหนดมาตรการจัดแนวทางระบบบริการของโรงพยาบาลกรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คือ การจำกัดการมารับบริการโดยไม่จำเป็น หรือการกำหนดระยะห่าง (Social Distancing) ในฐานะพยาบาลเฉพาะทางการดูแลผู้ป่วยบาดแผล ต้องปฏิบัติตามนโยบายการแพร่กระจายเชื้อ หลีกเลี่ยงหรือลดการเข้ารับบริการโดยตรง แต่คงคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพในการดูแล คือการให้ผู้ป่วยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ และให้ได้รับการดูแลบาดแผลเรื้อรังอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการมารับบริการโดยตรงที่โรงพยาบาล รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาด COVID – 19 โดยใช้ Telehealth เป็นรูปแบบการดูแลที่คณะผู้จัดทำโครงการสนใจ เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาใช้ในการดูแลบาดแผลเรื้อรัง และสามารถประเมินความเสี่ยง แนะนำช่องทางการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลโดยตรง เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยในการเข้ารับบริการ และลดความเหลื่อมล้ำด้านการกระจายโอกาส (Opportunity Inequality) ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขจากพยาบาลเฉพาะทางการพยาบาลบาดแผล

10. กิจกรรมการแก้ปัญหา/ พัฒนา

10.1 ขั้นเตรียมการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา และขออนุญาตผู้บริหารในการเก็บข้อมูล  ชี้แจงวัตถุประสงค์ รายละเอียดของวิธีการศึกษา แก่ศัลยแพทย์และผู้ร่วมงาน ตามนโยบายการจำกัดการแพร่กระจายเชื้ออย่างเร่งด่วน

10.2 ขั้นดำเนินการศึกษา

1)คณะผู้จัดทำอธิบายรายละเอียด และความจำเป็นกับผู้ป่วย บอกข้อมูลการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลบาดแผลเรื้อรังเพิ่มทางเลือกในการรับบริการเสมือนเข้ามารับบริการโดยตรงในโรงพยาบาลโดยผู้ป่วยต้องมีความพร้อมในการดูแลผ่าน Telehealth (Line Application) ลงนามยินยอมเข้าร่วมในการศึกษาวิจัย อธิบายทำข้อตกลงในการดูแลบาดแผล และการใช้วัสดุที่ทันสมัยในการปิดบาดแผลด้วยวิธีการสอนเป็นรายบุคคล เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จากนั้นให้อุปกรณ์และวัสดุการดูแลบาดแผลกับผู้ป่วย

2)ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ Telehealth ของผู้ป่วยทุกรายก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยเวลาที่จะสื่อสารทางไกลผ่านอยู่ในช่วงเวลา 8.00 – 17.00 น. ของทุกวันจันทร์-อาทิตย์ ทำบัตรนัดหลังจากได้รับการสอน และคำแนะนำอีก 1 เดือนถัดไป

10.3 ขั้นประเมินผล:เมื่อครบระยะ 1 เดือน คณะผู้จัดทำเก็บรวบรวมข้อมูลความก้าวหน้าการฟื้นหายของบาดแผล โดยการใช้แบบประเมินบาดแผล (BATES-JENSEN WOUND ASSESSMENT TOOL) สอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการดูแลบาดแผล และการติดต่อผ่าน Telehealth รวมทั้งความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ และติดตามข้อมูลการเข้ารับการรักษาซ้ำด้วยภาวะแผลติดเชื้อจากนั้นตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ

11. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการฟื้นหายของแผลผ่านการประเมินด้วย BATES-JENSEN WOUND ASSESSMENT TOOLScores ระหว่างรูปแบบการดูแลบาดแผลเรื้อรังตามปกติที่ผู้ป่วยได้รับ และรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาด COVID – 19 โดยใช้ Telehealth ไปแล้ว 1 เดือน (N=17)

 

ตัวแปล

รูปแบบการดูแลบาดแผลเรื้อรังตามปกติ

รูปแบบการดูแลบาดแผลเรื้อรังโดยใช้ Telehealth

t

 

P-value

Mean

SD.

Mean

SD.

BATES-JENSEN WOUND ASSESSMENT TOOLScores

29.47

 

7.53

 

29.17

 

7.54

 

.18

 

.85

 

*p<.05

ตารางที่ 2เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ ระหว่างรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังตามปกติที่ผู้ป่วยได้รับ และรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาด COVID – 19 โดยใช้ Telehealth ไปแล้ว 1 เดือน (N=17)

 

 

รูปแบบการดูแล

ระดับความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ

 

c2

 

P-value

ปานกลาง (ราย)

มาก (ราย)

จำนวน

จำนวน

รูปแบบการดูแลบาดแผลเรื้อรังตามปกติ

1

17

11.00

.01*

รูปแบบการดูแลบาดแผลเรื้อรังโดยใช้ Telehealth

4

13

1.52

.95

*p<.05

11.1 ตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับมาตรการลดปริมาณผู้ป่วยเรื้อรัง ในกรณีนี้เป็นผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรัง (แผลเบาหวาน, แผลโรคหลอดเลือดดำ) ที่จะเข้ามารับบริการที่ คลินิกออสโตมี และแผล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID – 19

11.2 เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยในการเข้ารับบริการ การดูแลสุขภาพผ่านระบบ Telehealth การให้คำปรึกษาการติดตามอาการ การแปลผลตรวจสุขภาพกับพยาบาลเฉพาะทางการดูแลบาดแผลผ่านระบบ Virtual Hospital

11.3 ลดความเหลื่อมล้ำด้านการกระจายโอกาส (Opportunity Inequality) ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขจากพยาบาลเฉพาะทางการพยาบาลบาดแผล การเข้าถึงผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ที่มีคุณภาพผ่านระบบ Telehealth ได้อย่างเสมอภาคทั้งการได้รับโดยตรง หรือมีสหสาขาวิชาชีพจากสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ (Primary Care) อย่างมีประสิทธิภาพ

11.4 การนำเทคโนโลยีในการสร้างระบบโครงข่ายฐานข้อมูลบริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลประวัติผู้ป่วยและเวชระเบียน (Electronic Health Record: EHR) สนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้การส่งต่อผู้ป่วยดำเนินไปได้แบบไร้รอยต่อ อย่างยั้งยืนทั้งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ และนโยบายเร่งรัดของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในการพัฒนา เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และสร้างโอกาส ความเสมอภาค ความเท่าเทียม และความเป็นธรรมทางสังคม ในการเข้ารับบริการทางสุขภาพ (Health Equality) ในอนาคต

12. บทเรียนที่ได้รับ:ระบบ Telehealth ต้องใช้โทรศัพท์มือถือที่มีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การศึกษาในครั้งนี้มีการ

วางแผนไว้ล่วงหน้าในระยะเวลาที่จำกัด ทำให้จำเป็นต้องใช้ผู้ป่วยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่มารับบริการที่คลินิกออสโตมี และแผล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เกิดความไม่เท่าเทียมกันของกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ความผลของการศึกษาไม่สามารถอ้างอิงไปยังประชากรได้ไม่เพียงพอ คณะผู้จัดทำตระหนักถึงปัญหา จึงมีการวางแผนและใช้กระบวนการวิจัย เพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถปรับใช้ได้อย่างยั่งยืนทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

13. การติดต่อกับทีมงาน:มารศรี ปิ่นสุวรรณ์