20042567

ปรับปรุงล่าสุด02:41:00 PM

วิสัญญี : ถุงเก็บความร้อนของสารละลายน้ำเกลือ(Warmer bag)

1. ชื่อหน่วยงาน วิสัญญี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

2. ผลงานเรื่อง ถุงเก็บความร้อนของสารละลายน้ำเกลือ (Warmer bag)

3. คำสำคัญ ถุงเก็บความร้อน,Hypothemia

4. เครื่องมือที่ใช้พัฒนา ประดิษฐ์ถุงเก็บความร้อนของสารละลายน้ำเกลือ

5. สรุปเรื่องเล่าโดยย่อ เนื่องจากหน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาได้เปิดห้องผ่าตัดทั้งสิ้น8ห้องมีอุปกรณ์อุ่นสารน้ำ,เลือด (จากบริษัท) จำนวน 3 เครื่องซึ่งมีราคาเครื่องละ 98,000 บาท และมีจำนวนไม่เพียงพอในการใช้ในแต่ละห้องซึ่งการผ่าตัดที่ใช้เวลานานทำให้สารละลายน้ำเกลือที่สัมผัสอากาศในห้องผ่าตัดมีความเย็นส่งผลให้ผู้ป่วย Shiveringได้และส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ Hypothermiaได้มากขึ้นจึงได้ประดิษฐ์ถุงเก็บความร้อนขึ้นเพื่อห่อสารละลายน้ำเกลือและรักษาระดับอุณหภูมิของสารละลายน้ำเกลือให้อุ่นนานที่สุด

6. ชื่อที่อยู่ขององค์กร หน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

7. สมาชิกทีม นางสาวพิสมัย รื่นธะนะ, นางสาวนุจรี  เงินมาก, นายกิตติพงศ์ ขาวเงินยวง วิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา,แพทย์หญิง.สุภาวดี ทรัพย์บุญ วิสัญญีแพทย์โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

8. เป้าหมายพื่อ 1.มีอุปกรณ์สำหรับห่อสารละลายน้ำเกลือเพียงพอต่อการใช้งาน 2.รักษาระดับอุณหภูมิของสารละลายน้ำเกลือให้อุ่นนานที่สุด 3.ป้องกันภาวะShivering และHypothermiaแก่ผู้ป่วยจากการได้สารละลายน้ำเกลือที่เย็น

9. ที่มาของปัญหา ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายส่วนกลางต่ำกว่า36องศาเซลเซียสได้ง่ายเนื่องจากอุณหภูมิในห้องผ่าตัดถูกควบคุมให้อยู่ระหว่าง 20-22 องศา ส่งผลให้สารน้ำที่สัมผัสอากาศเย็นมีอุณหภูมิลดลงไปด้วย การผ่าตัดที่ใช้เวลานานกว่า3ชม ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้จนถึง33-34องศาเซลเซียส กรณีเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยฟื้นจากยาสลบได้ช้ารวมถึงอัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้นด้วยจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันลดลง เนื่องจากหน่วยงานวิสัญญีได้เปิดห้องผ่าตัดทั้งสิ้น8ห้องมีอุปกรณ์อุ่นสารน้ำ,เลือด(จากบริษัท)เพียง 3 เครื่องซึ่งมีราคาเครื่องละ 98,000บาท และไม่เพียงพอในการใช้แต่ละห้องซึ่งการผ่าตัดที่ใช้เวลานาน ทำให้สารละลายน้ำเกลือที่สัมผัสอากาศในห้องผ่าตัดมีความเย็นส่งผลให้ผู้ป่วย Shivering เสี่ยงต่อHypothermia

10. กิจกรรมการแก้ปัญหา/พัฒนา การศึกษาทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพนวตกรรมที่ทำขึ้นกับอุปกรณ์ที่มีอยู่จากบริษัท วัสดุที่ใช้ ได้แก่ผ้า พลาสติกใส ฟรอยด์เก็บความร้อน เทปตีนตุ๊กแก กระบวนการประดิษฐ์ 1.ตัดผ้าเขียวขนาด9x12 นิ้วเว้นตรงช่องไว้เพื่อใส่พลาสติกใสไว้เพื่อดูชนิดของสารละลายน้ำเกลือและอีกด้านเว้นไว้เพื่อดูปริมาณของสารละลายน้ำเกลือ 2.นำแผ่นฟรอยด์เก็บความร้อนตัดแบบเดียวกับผ้าเขียว 3.เย็บประกบเพื่อประกอบให้เป็นถุงห่อหุ้มสารละลายน้ำเกลือและติดเทปตีนตุ๊กแกเพื่อประกบให้ถุงผ้าปิดสนิทป้องกันอากาศที่เย็นเข้าในถุงเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการประเมินผลการทดลองคือ การเปรียบเทียบอุณหภูมิของสารละลายน้ำเกลือทดลองใส่อุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นเปรียบเทียบกับอุณหภูมิจากบริษัท เก็บข้อมูลดังนี้ อุณหภูมิตั้งต้นของIV fluidในแต่ละขวด อุณหภูมิของห้องผ่าตัดในแต่ละช่วงเวลาต่างๆ อุณหภูมิของIv fluidที่ห่อด้วยนวตกรรมและเครื่องจากบริษัทในแต่ละช่วงเวลา

11. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้ถุงผ้าเก็บความร้อนที่ผลิตขึ้นเองแทนอุปกรณ์จากบริษัท ราคา 98,000 บาท ต้นทุนงบประมาณ 1.ผ้าเขียวจากห้องผ่าตัด=0 บาท 2.ฟรอยด์เก็บความร้อน=20บาท/ชิ้น 3.พลาสติกใส=10/ชิ้น 4.เทปตีนตุ๊กแก=1บาท รวม=31บาท/ชิ้น ผลการเปรียบเทียบอุณหภูมิของ IV Fluidเมื่อเวลาผ่านไป1ชม.30นาที ระหว่างขวดสารน้ำที่หุ้มด้วยนวัตกรรมผ้าที่ทำขึ้นกับขวดสารน้ำที่หุ้มด้วยผลิตภัณฑ์บริษัท พบว่าอุณหภูมิของสารน้ำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)(ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของ IV Fluid เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชม.30 นาที นวตกรรมผ้าที่ทำขึ้น =28.32,SD=1.8ส่วนบริษัท อุณหภูมิ IV fluid เฉลี่ย=28.40,SD=.18) นวัตกรรมที่ผลิตขึ้นมีคุณสมบัติด้านรักษาอุณหภูมิไม่แตกต่างกันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท สรุปมีอุปกรณ์ถุงเก็บความร้อนของสารละลายน้ำเกลือเพียงพอไว้ประจำทุกห้องผ่าตัด อุบัติการณ์ Hypothermia = 0 ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่วิสัญญี >80%

12.  
บทเรียนที่ได้รับ การพัฒนาที่เน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ ทำให้กระบวนการทำนวตกรรมได้ต่อยอดหลายๆวงล้อ จนสามารถใช้งานได้จริง 

13. การติดต่อกับทีมงาน พิสมัย รื่นธะนะ หน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 0818514126

รูปภาพประกอบ 1 จากบริษัท



รูปภาพประกอบ 2 นวัตกรรม