19042567

ปรับปรุงล่าสุด02:20:00 PM

วิสัญญี : New Normal Anesthesia Ayutthaya Hospital ในภาวะ COVID-19

1. ชื่อหน่วยงาน วิสัญญี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

2. ผลงานเรื่อง New Normal  Anesthesia Ayutthaya Hospital ในภาวะ COVID-19

3. คำสำคัญ New normal ,COVID-19, แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญี

4. เครื่องมือที่ใช้พัฒนา CQIแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีในสถานการณ์การแพร่ระบาดCOVID-19,นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ในทางวิสัญญีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19

5. สรุปเรื่องเล่าโดยย่อ จากสถานการณ์การระบาดของโรคCOVID-19งานวิสัญญีมีความเสี่ยงสูงในทุกระยะของการให้บริการทางวิสัญญีตั้งแต่ระยะPre-operative,Intra-opใส่ท่อช่วยหายใจ,Post-opมีความเสี่ยงในการเกิดการแพร่กระจายเชื้อCOVID-19 ซึ่งจะส่งผลถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ทางงานวิสัญญีจึงได้จัดทำแนวทางและจัดทำนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีในสถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID-19และให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน

6. ชื่อที่อยู่ขององค์กร หน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

7. สมาชิกทีม พ.อ.อ.อนุรักษ์ ไชยสิงห์,น.ส.ปรารถนา หิรัญโรจน์,นางฉวี สุขสุมิตร,นายกิตติพงศ์ ขาวเงินยวง, วิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

8. เป้าหมาย เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีแก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเพื่อให้เป็นไปทิศทางแนวเดียวกันสอดคล้องกับนโยบายโรงพยาบาล,เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19

 9. ที่มาของปัญหา สถานการณ์วิสัญญีโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่เดือน มกราคม 2563-เมษายน2563พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีจำนวน2,616รายโดยเดือนมกราคม,กุมภาพันธ์,มีนาคม ,เมษายน จำนวน784,641,693และ498รายตามลำดับงานวิสัญญีมีความเสี่ยงสูงในทุกระยะของการให้บริการทางวิสัญญีตั้งแต่ระยะPre-operative,Intra-op ใส่ท่อช่วยหายใจ, Post-op มีความเสี่ยงในการเกิดการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19  จึงได้จัดทำแนวทางและจัดทำนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีในสถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID-19

10. กิจกรรมการแก้ปัญหา/พัฒนา วิเคราะห์ปัญหาพบว่าเป็นสถานการณ์โรคอุบัติการณ์เกิดขึ้นใหม่จึงได้ประชุมร่วมกันถึงการดูแล ป้องกัน การดำเนินการของโรคเป็นทุกระยะของการให้บริการทางวิสัญญี คือPre-operative,Intra-opใส่ท่อช่วยหายใจ, Post-op เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการมีความมั่นใจและปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน

11. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ระยะก่อนผ่าตัด Pre-Operative ห้องตรวจวิสัญญีมีฉากกั้น ซักประวัตินอกห้องผ่านฉากกั้น,มีการเว้นระยะห่างบริเวณเก้าอี้หน้าห้องตรวจ,ระบบ Screeningใส่หน้ากากผ้าทุกราย มีalcohol gelรองรับ,ใช้ระบบโทรเพื่อเตรียมผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก ระยะIntra-op มีแนวทางการปฏิบัติเมื่อมีผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อPUIที่มาให้ยาระงับความรู้สึก ,พัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการใส่ท่อช่วยหายใจดังนี้ โครงStainlessคลุมพลาสติกใส่ท่อช่วยหายใจ,อุปกรณ์ป้องกันแทนชุดPPE ,ถุงมือยาว, เสื้อกันฝนFace shill ,VDO Laryngoscope,มีการปรับปรุงสร้างห้องNegative pressure,จัดทำMonitor ระยะไกล (Tele monitor) ส่งภาพและเสียง สัญญาณชีพจากในห้องมาสู่จุดควบคุม เพื่อลดจำนวนเจ้าหน้าที่เข้าไปสัมผัสผู้ป่วย ระยะPost-operative ติดตามประเมินผู้ป่วยหลังผ่าตัดด้วยการโทรเยี่ยมติดตามหลังผ่าตัด

12. บทเรียนที่ได้รับ  การช่วยกันคิด การแก้ปัญหาในยามสถานการณ์ที่วิกฤตจะช่วยสร้างความมั่นใจและขวัญกำลังใจให้กัน

13. การติดต่อกับทีมงาน หน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

Pre-opertive

 

Intra-operative

 


Intra-operative