20042567

ปรับปรุงล่าสุด02:41:00 PM

SNBU : การพัฒนาแนวทางการให้ข้อมูลลดการเข้าเยี่ยมทารกแรกเกิด ในสถานการณ์ COVID 19

1. ชื่อหน่วยงาน  หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด (SNBU)

2. ผลงานเรื่อง/เรื่องเล่า การพัฒนาแนวทางการให้ข้อมูลลดการเข้าเยี่ยมทารกแรกเกิด ในสถานการณ์ COVID 19

3. คำสำคัญ  การให้ข้อมูล, ทารกแรกเกิด, COVID 19

4. เครื่องมือที่ใช้พัฒนา แนวทางการเข้าเยี่ยม  นโยบายของโรงพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจของหน่วยงาน

5. สรุปเรื่องเล่าโดยย่อ

หลักการ และเหตุผล

          สถานการณ์โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ  ที่พบในปัจจุบัน โรค COVID-19 ซึ่งมีการแพร่กระจายมาจาก ประเทศจีนเมื่อปี คศ. 2019 ปลายเดือนพฤศจิกายน จนประเทศจีน ต้องประกาศปิดประเทศ ในประเทศไทยมีการพบว่ามีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในแหล่งสถานบันเทิง และสนามมวย เมื่อปลายเดือนมกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขมีแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายเชื้อ ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศ รวมถึงโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา หนึ่งในมาตรการการป้องกันคือการงดเยี่ยมผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดเป็นหน่วยงานหนึ่งในโรงพยาบาล และรับนโยบายของโรงพยาบาล จึงได้พัฒนาแนวทางการเข้าเยี่ยมทารกแรกเกิด ในสถานการณ์ COVID 19 ขึ้น และเพื่อลดการเกิดข้อร้องเรียน หรือผลอันไม่พึงประสงค์จึงได้พัฒนาแนวทางการให้ข้อมูลทารกแรกเกิด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้บิดา มารดา และครอบครัวได้รับทราบข้อมูลของทารกแรกเกิดอย่างถูกต้อง และเหมาะสม

2. เพื่อลดความวิตกกังวลของบิดา มารดา และครอบครัว

3. เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในขณะเข้าเยี่ยม

เป้าหมาย

1. บิดา มารดาของทารกแรกเกิดได้รับทราบข้อมูล 

2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมีแนวทางการให้ข้อมูล

กิจกรรมการพัฒนางาน

แนวทางการเข้าเยี่ยม ก่อนสถานการณ์ COVID19

แนวทางการเข้าเยี่ยม ในสถานการณ์ COVID19

1. เมื่อรับทารกมา จะให้ข้อมูลแก่ บิดา / ญาติทันที

2. กำหนดเวลาเข้าเยี่ยมที่ชัดเจน

   - บิดา เยี่ยมได้ 12.00-13.00 น. เวลาเดียว

   - มารดา เยี่ยมได้ตลอดเวลา

บิดา และญาติจะเยี่ยมได้เมื่อทารกออกไปพักฟื้นที่ห้องมารดาด้านนอก โดยกำหนดให้เยี่ยมได้ 2 เวลา

-         12.0014.00 น

-         18.0020.00 น.

โดยห้ามเด็กต่ำกว่า 5 ปี เข้าเยี่ยม

3. การให้ข้อมูล กำหนดพยาบาลดูแลในแต่ละพื้นที่ จะเป็นผู้ให้ข้อมูล บิดา มารดา และญาติ จะไม่ให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ ในกรณีที่ญาติโทรสอบถามอาการ ยกเว้นเป็นบิดา / มารดา เท่านั้น

4. การเข้าเยี่ยม เน้นการล้างมือก่อนเข้าเยี่ยมทุกราย โดยจัดหาอ่างล้างมือไว้ทุกๆ พื้นที่

1.       เมื่อรับทารกมา จะให้ข้อมูลแก่ บิดา / ญาติทันที โดยให้บิดาใส่หน้ากากอนามัยก่อนเข้ารับข้อมูล ให้เห็นทารก แต่ไม่ให้สัมผัสทารก

2.       แจ้งนโยบายของโรงพยาบาล และร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการวางแนวทางการให้ข้อมูลแก่ บิดา มารดาของทารกแรกเกิด

3.       จัดทำแผ่นพลาสติกใส ปิดบริเวณหน้าต่างกระจก ขณะให้ข้อมูล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากร

4.       ปิดประกาศนโยบายโรงพยาบาล งดเยี่ยม ทุกกรณี และแจ้งให้บิดามารดารับทราบ

5.       กำหนดเวลาในการรับข้อมูล และการให้ข้อมูลในขณะมาสอบถามอาการ และทางโทรศัพท์

-         12.00  - 13.00 น.

6.       เปิดโอกาสให้มารดา สามารถวิดีโอคลอ กับบิดา และครอบครัวขณะที่เฝ้าทารกในห้องมารดา และทารกขณะพักฟื้น เพื่อลดความวิตกกังวลของบิดา และครอบครัว

7.       จัดหา Alcohol gel ชนิดกดโดยไม่ใช้มือไว้หน้าหอผู้ป่วย เพื่อให้มารดาที่เข้าเยี่ยมสามารถล้างมือก่อนเข้าหอผู้ป่วย และล้างมือเมื่อเข้ามาหอผู้ป่วย เป็น Double Hand hygiene ลดการแพร่กระจายเชื้อจากข้างนอก และการแพร่กระจายเชื้อสู่ทารก

8.       มีมาตรการวัดไข้มารดา เช้า เย็น เพื่อคัดกรองโรคที่รวดเร็ว กรณีที่พบว่ามารดามีไข้จะรีบส่งมารดาเข้าตรวจทันที

 

 ผลการพัฒนาแนวทางการให้ข้อมูลทารกแรกเกิดในสถานการณ์ COVID 19

      1. ไม่พบข้อร้องเรียนเรื่องของการให้ข้อมูลทารกแรกเกิด ที่เจ็บป่วย

      2. อุบัติการณ์ไม่สมัครอยู่ = 0

      3. ระดับความพึงพอใจของมารดาต่อการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ (เมษายน ) มากกว่าร้อยละ 80

6. ชื่อที่อยู่ขององค์กร หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด (SNBU)

7. สมาชิกทีม บุคลากรในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด (SNBU)

8. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

          การให้ข้อมูลในกลุ่มทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วยมีความสำคัญสูง เพราะทารกแรกเกิดคือของขวัญอันมีค่าของครอบครัว การให้ข้อมูลในสถานการณ์ที่มีการแพร่กระจายเชื้อ COVID 19 จึงมีความสำคัญมาก เพราะทุกครอบครัวมีความวิตกกังวลเช่นกัน การปรับแนวทางที่เหมาะสม และมีมาตรการป้องกันที่ชัดเจน ช่วยให้ทารกแรกเกิดปลอดภัย บุคลากรเกิดความมั่นใจในการให้บริการ รวมทั้งครอบครัวมั่นใจในกระบวนการดูแลรักษาทารก

          ดังนั้นการให้ข้อมูลทารกโดยการเลือกวิธีการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญ ซึ่งถ้ามีโอกาสอยากให้มีการใช้กล้องวิดีโอคลอ ให้บิดา เห็นทารกในขณะที่พักรักษาเพื่อลดความวิตกกังวล และสร้างความเชื่อมั่นในการรักษา

12. บทเรียนที่ได้รับ

          ในสถานการณ์ที่วิกฤต หรือมีการแพร่กระจายเชื้อ การมีนโยบายที่ชัดเจนจะช่วยสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากก่อนมีนโยบาย เจ้าหน้าที่วิตกกังวลการเข้าเยี่ยมของบิดา การเข้าเยี่ยมญาติ จะเกิดการแพร่ระบาดเชื้อหรือไม่ เมื่อโรงพยาบาลออกนโยบาย และหอผู้ป่วยรับนโยบาย การสื่อสารกับครอบครัว บิดา ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

13. การติดต่อกับทีมงาน

          นางศรีสุรีย์  สูนพยานนท์  นางสาวรัชนก  สุขเทียบ และเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด (SNBU) โทร 5402 และ 5406