20042567

ปรับปรุงล่าสุด02:41:00 PM

ICU2 : นวัตกรรม AYH Breathing Exercise

หน่วยงาน หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ( ICU 2) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผลงานชื่อ  นวัตกรรม  AYH Breathing Exercise

คำสำคัญ  Breathing Exercise หมายถึง การฝึกการหายใจเพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา  ผลิตอุปกรณ์ช่วยให้ผู้ป่วยฝึกการหายใจด้วยตัวเอง

สรุปเรื่องเล่าโดยย่อ  /ขั้นตอนการผลิต

1.เตรียมอุปกรณ์ภาชนะที่มีความคงตัวไม่อ่อนยุบง่ายมีฝาปิดได้สนิทขนาด2-3 ลิตร 2ใบ

2.สายยางขนาดเล็ก ยาว30 ซม.  2 เส้น

3.เจาะรูที่ฝา ฝาA 1 รู ฝา B 2รูขนาดเล็กกว่าสายยาง(เมื่อสอดท่อสายยางแล้วไม่มีรอยรั่ว)

4.ใส่น้ำลงในภาชนะ A  จนเต็ม และปิดฝาทั้ง2ภาชนะให้แน่น

5.นำไปให้ผู้ป่วยฝึกการหายใจโดยจัดท่านอนศีรษะสู.หรือให้นั่งแล้วหายใจเข้าออกลึกๆ 3ครั้ง จึงให้ดูดลมจากสาย 2 ให้นานที่สุดจนเห็นน้ำจากขวด Aไหลเข้าขวด B 

6.ให้ผู้ป่วยฝึกหายใจ โดยดูดลมลึกๆ รอบละ10-15 ครั้งแล้วให้หยุดพักหายใจตามปกติโดยทำได้ทุก 1 ชมถ้าไม่มีอาการปวดแผลมากและไม่ได้นอนหลับ

ที่อยู่ขององค์กร  โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

สมาชิกทีม พยาบาลหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ( ICU 2)

เป้าหมาย  เป็นชุดบริหารปอดสำหรับช่วยผู้ป่วยให้ฝึกการหายใจเพื่อให้ปอดขยายตัว (Lung Expanded) ได้ดีป้องกันภาวะปอดแฟบ ( Lung atelectasis )

ที่มาของปัญหา   หอผู้ป่วยแต่ละหอส่วนใหญ่ขาดแคลนอุปกรณ์ชุดช่วยฝึก Breathing Exercise หรือมีจำนวนน้อยมีไม่เพียงพอให้ผู้ป่วยใช้ เช่น ผู้ป่วยหลังถอดท่อช่วยหายใจ  ผู้ป่วยที่ใส่ Chest drainage  ผู้ป่วยนอนบนเตียงที่Ambulate ได้น้อย ผู้ป่วยที่มีแผลบริเวณช่องท้องหรือทรวงอก   ผู้ป่วยปอดอักเสบ ถ้าผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้รับการกระตุ้นหรือฝึกการหายใจเพื่อขยายปอดอาจมีผลทำให้การขยายของปอดไม่ดีเกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้หรือต้องกลับมาใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจซ้ำต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

กิจกรรมการแก้ปัญหา

1.การจัดซื้อชุดอุปกรณ์ชุดช่วยฝึก Breathing Exercise ให้เพียงพอ

2.สอนวิธีการฝึกหายใจ Breathing Exercise

3.จัดทำผลิตชุดอุปกรณ์ชุดช่วยฝึก Breathing Exercise โดยใช้วัสดุที่หาง่ายและราคาถูกให้มีเพียงพอต่อการใช้กับผู้ป่วยตามข้อบ่งชี้

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  มีการสอนและฝึกการหายใจ Breathing Exerciseโดยนำนวัตกรรมมาใช้กับผู้ป่วยตามข้อบ่งชี้มากขึ้นทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะปอดแฟบ ( Lung atelectasis )

บทเรียนที่ได้รับ 
1.การนำผลงานมาใช้ได้จริงแต่ยังต้องพัฒนาเรื่องของการคำนวนปริมาตรอากาศที่ผู้ป่วยหายใจแต่ละครั้งได้ปริมาณเท่าไร จะทำให้เห็นความก้าวหน้าของผู้ป่วยในแต่ละวันได้
2.ควรจัดทำอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กลงเพื่อให้สะดวกแก่การนำมาใช้และจัดเก็บ

โดย นางบุบผา ไวยพัฒน์ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม
หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ( ICU 2) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
ผลงานชื่อ  นวัตกรรม  AYH Breathing Exercise
คำสำคัญ  Breathing Exercise หมายถึง การฝึกการหายใจเพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา  ผลิตอุปกรณ์ช่วยให้ผู้ป่วยฝึกการหายใจด้วยตัวเอง
สรุปเรื่องเล่าโดยย่อ  /ขั้นตอนการผลิต
1.เตรียมอุปกรณ์ภาชนะที่มีความคงตัวไม่อ่อนยุบง่ายมีฝาปิดได้สนิทขนาด2-3 ลิตร 2ใบ
2.สายยางขนาดเล็ก ยาว30 ซม.  2 เส้น
3.เจาะรูที่ฝา ฝาA 1 รู ฝา B 2รูขนาดเล็กกว่าสายยาง(เมื่อสอดท่อสายยางแล้วไม่มีรอยรั่ว)
4.ใส่น้ำลงในภาชนะ A  จนเต็ม และปิดฝาทั้ง2ภาชนะให้แน่น
5.นำไปให้ผู้ป่วยฝึกการหายใจโดยจัดท่านอนศีรษะสู.หรือให้นั่งแล้วหายใจเข้าออกลึกๆ 3ครั้ง จึงให้ดูดลมจากสาย 2 ให้นานที่สุดจนเห็นน้ำจากขวด Aไหลเข้าขวด B 
6.ให้ผู้ป่วยฝึกหายใจ โดยดูดลมลึกๆ รอบละ10-15 ครั้งแล้วให้หยุดพักหายใจตามปกติโดยทำได้ทุก 1 ชมถ้าไม่มีอาการปวดแผลมากและไม่ได้นอนหลับ

ที่อยู่ขององค์กร  โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

สมาชิกทีม พยาบาลหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ( ICU 2)

เป้าหมาย  เป็นชุดบริหารปอดสำหรับช่วยผู้ป่วยให้ฝึกการหายใจเพื่อให้ปอดขยายตัว (Lung Expanded) ได้ดีป้องกันภาวะปอดแฟบ ( Lung atelectasis )

ที่มาของปัญหา   หอผู้ป่วยแต่ละหอส่วนใหญ่ขาดแคลนอุปกรณ์ชุดช่วยฝึก Breathing Exercise หรือมีจำนวนน้อยมีไม่เพียงพอให้ผู้ป่วยใช้ เช่น ผู้ป่วยหลังถอดท่อช่วยหายใจ  ผู้ป่วยที่ใส่ Chest drainage  ผู้ป่วยนอนบนเตียงที่Ambulate ได้น้อย ผู้ป่วยที่มีแผลบริเวณช่องท้องหรือทรวงอก   ผู้ป่วยปอดอักเสบ ถ้าผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้รับการกระตุ้นหรือฝึกการหายใจเพื่อขยายปอดอาจมีผลทำให้การขยายของปอดไม่ดีเกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้หรือต้องกลับมาใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจซ้ำต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

กิจกรรมการแก้ปัญหา

1.การจัดซื้อชุดอุปกรณ์ชุดช่วยฝึก Breathing Exercise ให้เพียงพอ

2.สอนวิธีการฝึกหายใจ Breathing Exercise

3.จัดทำผลิตชุดอุปกรณ์ชุดช่วยฝึก Breathing Exercise โดยใช้วัสดุที่หาง่ายและราคาถูกให้มีเพียงพอต่อการใช้กับผู้ป่วยตามข้อบ่งชี้

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  มีการสอนและฝึกการหายใจ Breathing Exerciseโดยนำนวัตกรรมมาใช้กับผู้ป่วยตามข้อบ่งชี้มากขึ้นทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะปอดแฟบ ( Lung atelectasis )

บทเรียนที่ได้รับ  ....1.การนำผลงานมาใช้ได้จริงแต่ยังต้องพัฒนาเรื่องของการคำนวนปริมาตรอากาศที่ผู้ป่วยหายใจแต่ละครั้งได้ปริมาณเท่าไร จะทำให้เห็นความก้าวหน้าของผู้ป่วยในแต่ละวันได้

2.ควรจัดทำอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กลงเพื่อให้สะดวกแก่การนำมาใช้และจัดเก็บ

โดย นางบุบผา ไวยพัฒน์ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม